เกษตร ร.ส. โพลล์
สถิติ
เปิดเมื่อ28/06/2012
อัพเดท18/03/2014
ผู้เข้าชม617280
แสดงหน้า887598




การปลูกมะตูม

อ่าน 20368 | ตอบ 3

 

คติความเชื่อ
บางตำราว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้าน โดยปลูกไว้ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ร่วมปลูกกับไผ่รวก และทุเรียน ถือว่าเป็นเคล็ดลับในชื่อเรียกที่เป็นมงคลนาม จะทำให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความมานะพยายามที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้มะตูมยังเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและพิธีมงคลของไทย การทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ ครอบครูจะใช้ใบมะตูมเป็นองค์ประกอบในพิธี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้ใบมะตูมทัดหูให้แก่ทูตที่เข้าเฝ้า เพื่อกราบถวายบังคมลาไปรับราชการต่างประเทศ สำหรับในทางไสยศาสตร์ ชาวฮินดูถือว่าไม้มะตูมเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ และใบมะตูมเป็นใบไม้ที่ป้องกันเสนียดจัญไร และขับภูติผีปีศาจได้

ชื่อพื้นเมือง
มะปิน (ภาคเหนือ) กะทันตาเถร ตูม ตุ่มตัง (ภาคใต้) มะตูม (ภาคกลาง, ภาคใต้) บักตูม (ยโสธร,อีสาน) หมากตูม (อุดรธานี,มหาสารคาม,อีสาน) พะเนิว (เขมร) ตุ่มตัง (ล้านช้าง)

ชื่ออังกฤษ
Bael, Bengal quince, Bilak

ชื่อวิทยาศาสตร์
Aegle marmelos Corr.

วงศ์
RUTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะตูมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งแหลมคมอยู่มากมาย เรือนยอดกลม เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล
1. ใบ เป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อย 3 ใบ ออกเวียนเป็นเกลียวรอบกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 1.75-7.5 ซม. ยาว 4-13.5 ซม. ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ฐานใบมน ก้านใบยาว ใบมีกลิ่นหอม หากนำไปส่องแดดจะเห็นเนื้อใบมีต่อมน้ำมันเป็นจุดใสๆ กระจายอยู่
2. ดอก เป็นดอกช่อ ออกตรงปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยสีขาว หรือขาวปนเขียว มีกลิ่นหอมไกล กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 4-5 กลีบ
3. ผล เป็นรูปไข่หรือรูปกลม เปลือกผลจะหนาแข็ง ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเขียวอมเหลือง ภายในผลมีเนื้อสีส้มปนเหลือง เนื้อนิ่มมีเมล็ดจำนวนมากแทรกอยู่ในเนื้อผล

การปลูก
มะตูมขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง มะตูมเป็นไม้ปลูกกลางแจ้งและทนต่อความร้อนได้ดี

ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ใบ ผลแก่และสุก เปลือกราก ทั้ง 5
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
1. ราก รสฝาดปร่า ชา ขื่นเล็กน้อย แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอช่วยบำบัดเสมหะ รักษาน้ำดี
2. ใบสด รสฝาด ปร่า ซ่า ขื่น มัน เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดิน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ น้ำคั้นจากใบทาแก้หวัด แก้บวม แก้เยื่อตาอักเสบ
3. ผลมะตูมแก่ รสฝาดหวาน มีสรรพคุณบำรุงธาตุ เจริญอาหารและช่วยขับลมผาย
4. ผลมะตูมสุก รสหวานเย็น สรรพคุณแก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับลมผาย
5. ทั้ง 5 รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ปวดศีระษะ ตาลาย เจริญอาหาร ลดความดันโลหิตสูง
6. เปลือกรากและลำต้น รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้
ขนาดและวิธีใช้
1. ช่วยขับลมผาย ช่วยเจริญอาหาร ใช้ผลมะตูมแก้ทั้งลูกขูดผิวให้หมด ทุบพอร้าวๆ ต้มน้ำเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มน้ำ น้ำที่ได้มีรสหอม เรียกว่า “น้ำอัชบาล”
2. แก้กระหายน้ำ แก้ลม แก้เสมหะ รับประทานเนื้อผลมะตูมสุก
3. แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอ นำรากไปคั่วไฟให้เหลือง แล้วนำไปดองสุราเพื่อกลบกลิ่น
4. แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดิน แก้หวัด ใช้ใบรับประทานเป็นผัก
5. แก้ปวดศีรษะ ตาลาย ลดความดันโลหิตสูง ใช้ทั้ง 5 ต้มรับประทาน
6. แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย ใช้ผลอ่อนหั่นผึ่งให้แห้ง บดเป็นผงหรือต้มรับประทาน โดยใช้ตัวยา 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 5 แก้ว นานประมาณ 10-30 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ทุก 2 หรือ 4 ชั่วโมง แล้วแต่ว่าเป็นมากเป็นน้อย หรืออาจจะซื้อมะตูมแห้งจากร้านขายยา 5-6 แว่น ต้มกับน้ำประมาณ 2 ถ้วยแก้ว เดือดแล้วเคี่ยวต่อไปเล็กน้อย ยกลง ตั้งไว้ให้เย็นดื่มครั้งละ ½ แก้มเติมน้ำตาล
7. แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้บวม ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำรับประทาน

ข้อแนะนำ
1. ตำรายานี้เป็นเพียงยาระงับอาการของโรคเท่านั้น ถ้าใช้รักษาโรคภายใน 1 วันไม่ได้ผล (ยกเว้นโรคเรื้อรัง เช่น กระเพาะ, หืด)
2. ควรหยุดใช้ยาทันทีเมื่อมีความเจ็บป่วย หากอาการรุนแรงขึ้น ไม่ควรรักษาด้วยตนเองควรปรึกษาผู้ชำนาญ
3. ควรใช้เมื่อยามจำเป็นเท่านั้น เพราะยานี้ใช้รักษาโรคค่อนข้างรุนแรง เช่น ท้องเสียรุนแรง
4. ถ้าท้องเสียควรดื่มน้ำมากๆ เติมน้ำตาลทรายและเกลือลงไปด้วยจะดีมาก

สารสำคัญ
1. ผลแก่มีสารที่เป็นเมือก (mucilage) และ pectin น้ำมันระเหย
2. ผลสุกมีสารที่เป็นเมือก pectin น้ำมันระเหย และ tannin

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้เป็นผัก ยอดอ่อน ผลดิบ
ช่วงฤดูกาลที่เก็บ ยอดอ่อนออกตลอดปี ลูกอ่อนพบในช่วงฤดูฝน ผลสุกมีในช่วงกลางฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง
การปรุงอาหาร
คนไทยทุกภาครับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนของมะตูมเป็นผักสด ในตลาดท้องถิ่นมักพบในมะตูมอ่อนจำหน่ายเป็นผักชาวเหนือรับประทานแกล้มลาบ ชาวอีสานรับประทานร่วมกับก้อย ลาบหรือแจ่วป่น ชาวใต้รับประทานร่วมกับน้ำพริกและแกงรสจัด สำหรับภาคกลางไม่นิยมรับประทานยอดอ่อน แต่พบว่ามีการใช้มะตูมดิบมาปรุงเป็นยำมะตูม

ประโยชน์อื่น
ไม้มะตูมใช้ทำเกวียน ลูกหีบ หวี ยางในมะตูมใช้แทนกาวได้ และเปลือกผลทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีเหลืองได้

 
ที่มา http://ittm.dtam.moph.go.th/data_articles/direct_tree/directtree16.htm
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

ก้านกล้วย
laugh  laugh   บาคาร่า

----------------------------
++ น่าสนมากเลยคร้าบ ++
 
ก้านกล้วย [107.6.113.xxx] เมื่อ 6/05/2015 23:15
2
อ้างอิง

ARMYxxx
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ จะเอาไปทำงานวิชา I.S.
 
ARMYxxx [118.172.163.xxx] เมื่อ 5/01/2016 21:14
3
อ้างอิง

hakan
pinjaman agunan bpkb di jakarta dan seluruh wilayah indonesia, proses cepat bisa langsung cair hanya 1 hari saja dengan suku bunga rendah serta bpkb mobil aman hingga masa angsuran kredit telah lunas
 
hakan [110.138.81.xxx] เมื่อ 16/10/2023 18:22
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :