การเลี้ยงไก่เศรษฐกิจพอเพียงพื้นฐานแบบพึ่งตนเอง
การเลี้ยงไก่พื้นเมืองของชาวบ้านเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยให้หาอาหารกินเองตาม ธรรมชาติ ซึ่งเป็นระบบที่เหมาะสมไก่พื้นเมืองผ่านการคัดเลือกจนเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม แบบนี้มาหลายร้อยปีแล้ว จึงเลี้ยงง่าย ทนทาน ทำให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้ การที่จะให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบขังคอกตลอดนั้นเป็นไปไม่ได้ทาง เศรษฐกิจ เพราะจะทำให้เพิ่มต้นทุนการเลี้ยงขายได้ไม่คุ้มกับการลงทุน และทำให้ต้องพึ่งพาอาหารผสมจากแหล่งภายนอกเพิ่มเติม ไม่สามารถพึ่งพาตนได้

เกษตรกรไทยส่วนหนึ่ง เช่นชาวไทยภูเขา อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเขาที่ห่างไกลและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ทางคมนาคมถูกตัดขาดในหน้าฝน แม้แต่ในหน้าแล้งก็ยังสามารถออกมาติดต่อกับโลกภายนอกได้ยาก จึงต้องดำรงชีพด้วยการเกษตรแบบยังชีพพึ่งพาปัจจัยจากโลกภายนอกได้
อาหารโปรตีนอาจเพาะเองได้แก่ปลวก การทำบ่อเพาะปลวกได้แก่
1.ขุดดินหน้ากว้าง 0.50 เมตร ยาว 0.70 เมตร ลึก 0.30 เมตร
2.ตัดไม้เนื้ออ่อนเป็นท่อน นำมาวางก้นหลุม วางเป็นลูกระนาด
3.นำมูลสัตว์แห้ง มาโรยลงบนกองไม้ให้ทั่วแล้วพรมน้ำให้พอชื้น
4.นำฟาง ใบไม้ หญ้าแห้ง หรือกระดาษกล่องวางทับหน้า
5.ทำตามขั้นตอน 2, 3 และ 4 ซ้ำอีก 1 ชั้น
6.เสร็จแล้วคลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน ปลวกจะมาอาศัยอยู่

แมลงเป็นอาหารโปรตีนและพลังงานเสริมในการเลี้ยงไก่ได้ คุณค่าทางโภชนาการของแมลงกินได้ 8 ชนิด ได้แก่ จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด ดักแด้ไหม ตั๊กแตนปาทังก้า ตัวอ่อนของต่อแมลงกินูน แมงป่องและหนอนไม้ไผ่

การใช้อาหารที่เกษตรกรมีอยู่ช่วยเพิ่มผลผลิตได้ เช่นข้าวเปลือก ข้าวโพด หรือมันเส้น ทำให้มีขนาดเล็กลงโดยการตำหรือบดให้เป็นอาหารเสริม ชาวบ้านที่อยู่ชายป่าอาจหาอาหารจากป่า เช่นหัวบุก กลอย กล้วยป่า มาเป็นแหล่งอาหารพลังงาน การหมักก่อนจะเพิ่มคุณค่าทางอาหารหรือไม่ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับการขายผลผลิตเหล่านี้ในแต่ละ ช่วงเวลาเป็นอย่างไร การให้ผลิตอาหารโปรตีนเองเช่น ใบมันสำปะหลัง ใบกระถิน ใบพืชตระกูลถั่วอื่นๆ การเพาะเลี้ยงไส้เดือนและปลวก เป็นต้น
อ้างอิงจาก หนังสือความหลากหลายทางชีวภาพกับการผลิตปศุสัตว์ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของยอดชาย ทองไทยนันท์